อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ลงทะเบียน/เข้าสู่ระบบ
ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
ค้นหา
ตราสัญลักษณ์
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
27 พฤษภาคม 2558
สภาพทั่วไป
อำเภอแก่งคอยเป็นเมืองน่าอยู่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก สวยงามตามธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธ์ต่างๆ พืชสวน ไร่นา ห่างจากกรุงเทพมหานคร 108 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมสะดวก มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือและถนนทางหลวงสายมิตรภาพ ตัดผ่านอำเภอแก่งคอย

ลักษณะและที่ตั้งอาณาเขต
เทศบาลตำบลแก่งคอย ตั้งอยู่ที่ ถ.พระพายัพ ต.แก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 4.05 ตารางกิโลเมตร โดยห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 188 กิโลเมตร และทางรถยนต์ 121 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ลำแม่น้ำป่าสัก ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย
การคมนาคมในเขตเทศบาล
ทางบก ติดต่อกันได้โดยอาศัยทางหลวงแผนดินหมายเลข 2 (ถ.มิตรภาพ) เป็นถนนที่แยกจาก ถ.พหลโยธิน ผ่านเขตอำเภอเมืองสระบุรี ผ่านมาเขตอำเภอแก่งคอย และผ่ายเขตเทศบาลเมืองแก่งคอย ระยะทาง 12 กิโลเมตรา ผ่านไปอำเภอมวกเหล็กเข้าสู่ จ.นครราชสีมา และมีถนนจากอำเภอเมืองสระบุรี ผ่านโรงพยาบาลสระบุรี สามารถเดินทางไป ต.เตาปูน ข้ามแม่น้ำป่าสักสะพานอดิเรกสารเข้าสู่ ต.ตาลเดี่ยว เชื่อมกับ ถ.สุดบรรทัด เข้าสู่เทศบาล มีระยะทาง 14 กิโลเมตร และถนนสายแก่งคอย - แสลงพัน ซึ่งติดต่อกับอำเภอวังม่วง มีระยะทาง 30 กิโลเมตร
ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีชุมทางที่สถานีชุมทางแก่งคอย ซึ่งแยกออกจากแก่คอยเป็น 2 เส้นทาง คือ
- เส้นทางแรก แก่งคอย - ลำนารายณ์ ซึ่งจะเข้าสู่ จ.ลพบุรี
- เส้นทางที่สอง แก่งคอย - มวกเหล็ก เข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี และมีเส้นทางรถไฟสายแก่งคอย - คลองสิบเก้า เชื่อมภาคตะวันออก (ในการขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจังหวัดฉะเชิงเทรา)
ทางน้ำ สามารถใช้เรือเป็นพาหนะล่องตามแม่น้ำป่าสักไปยัง อ.เมืองสระบุรี ได้ มีระยะทาง 15 กิโลเมตร ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะทางเรือไม่ค่อยมีผู้ใช้โดยสารและลำน้ำตื้นเขินทำให้เสียเวลามาก
การสื่อสารโทรคมนาคม
โทรศัพท์ เทศบาลเมืองแก่งคอย เป็นที่ตั้งชุมสายโทรศัพท์อำเภอแก่งคอย (ทศท.)
- มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ในเขตอำเภอแก่งคอย ประมาณ 5,091 เลขหมาย
- โทรศัพท์สาธารณะในเขตอำเภอแก่งคอย ประมาณ 248 เลขหมาย
- มีไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง คือ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแก่งคอย ตั้งอยู่ ถ.สุดบรรทัด
สำหรับเทสบาลได้ติดตั้งเครื่องส่งเสียงตามสายให้บริการประชาชนในด้านสื่อสารมวลชน
การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
มีสถาบันการศึกษาในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 7 แห่ง เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- เปิดสอนในระดับมัธยม 1 แห่ง
- มีโรงเรียนในสังกัดเทศบาล 3 แห่ง โรงเรียนเทศบาลพัฒนา เปิดสอนในระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านม่วง เปิดสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลวัดแก่งคอย
- โรงเรียนเอกชน 3 แห่ง โรงเรียนเอกชนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดในเขตเทศบาล 3 แห่ง คือ วัดบ้านม่วง วัดแก่งคอย และวัดราษฎร์พัฒนา
การสาธารณสุข
เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่รอบ ๆ เขตเทศบาลเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ รองลงมาระบบย่อยอาหาร ระบบติดเชื้อและอุบัติเหตุ มีสถานบริการด้านสาธารณสุขของรัฐในเขตเทศบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน (ประเภทคลินิก) 1 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลแก่งคอย ตั้งอยู่ ต.ตาลเดี่ยว ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล 1 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานเขตเมือง 10 แห่ง
กิจการพาณิชย์
กิจการพาณิชย์ของเทศบาล 2 ประเภท ดังนี้
1. สถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) ตั้งอยู่ที่ ถ.สุดบรรทัด (บริเวณตลาดใหม่) ต.แก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
2. การประปา สำนักงานการประปาเทศบาลเมืองแก่งคอย ตั้งอยู่ที่ ถ.สุดบรรทัด ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี (นอกเขตเทศบาล) มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งเทศบาลให้บริการน้ำประปาเฉพาะที่อยู่ในเขตเทศบาล และพื้นที่ใกล้เคียง
เทศบาลเมืองแก่งคอย ได้รับการยกฐานะตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พุทธศักราช 2487 ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 1 สิงหาคม พุทธศักราช 2487 ตราไว้ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2487 และประกาศดังกล่าวลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 ตอนที่ 77 ลงวันที่ 26 ธันวาคม พุทธศักราช 2487 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองแก่งคอย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2550 เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นเทศบาลเมืองแก่งคอย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เดิมที่เป็นเทศบาลตำบลแก่งคอย เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2488 โดยเช่าห้องแถวไม้สองชั้น 1 คูหา ติดถนนเลียบสันติสุข ตลาดแก่งคอย จนกระทั่งปี 2494 ได้ตกลงเช่าที่ดินของบริษัทล้อมสหญาติ จำกัดเนื้อที่ 1 ไร่ อยู่ริมแม่น้ำแควป่าสัก ได้ปลูกสร้างเป็นห้องไม้ชั้นเดียวสถานที่คับแคบจึงได้ทำการกู้ยืมเงิน ก.ส.ท. เพื่อซื้อที่ดินและสร้างสำนักงาน จำนวน 1,000,000 บาท ได้ทำการซื้อที่ดินข้างสถานีอนามัยชั้นหนึ่งอำเภอแก่งคอย ถนนพระพายัพ เนื้อที่ 5 ไร่ เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อสร้างสำนักงานแบบตึก 2 ชั้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2508 ตามแบบของกรมโยธาธิการในสมัยนั้น รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 489,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2509 ยอดเงินคงเหลือได้สร้างรั้วบ้านพักพนักงานเทศบาลและคนงานในบริเวณเดียวกันกับสำนักงานเทศบาลฯ จนกระทั่งเวลาผ่านไป 31 ปี อาคารทรุดโทรมลงและไม่มีเนื้อที่เพียงพอต่อพนักงาน นายวิฑูรย์ ต.แสงจันทร์ นายกเทศมนตรีในสมัยนั้น ได้มีนโยบายปรับปรุงและต่อเติมขยายอาคารเป็น 3 ชั้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2541 รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 6,000,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2542
ปัจจุบันเทศบาลเมืองแก่งคอย ตั้งอยู่ที่ ถ.พระพายัพ ต.แก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 12 ก.ม. และห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 188 ก.ม. และทางรถยนต์ 121 ก.ม.เทศบาลเมืองแก่งคอย ตั้งอยู่ที่ ถ.พระพายัพ ต.แก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 12 ก.ม. และห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ 188 ก.ม. และทางรถยนต์ 121 ก.ม.
วิสัยทัศน์
จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ ด้วยการจัดการที่ดีมีชุมชนเข้มแข็ง
สังคมสงบสุขเป็นเส้นทางเชื่อมโยงสู่ภาคอีสานและภาคตะวันออก
พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนและทางเท้าให้ครอบคลุมพื้นที่
2. ก่อสร้างระบบการจำหน่ายน้ำประปาให้เพียงพอได้มาตรฐานและทั่วถึง
3. สนับสนุนการศึกษาให้เป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรมและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมห่างไกลยาเสพติด
4. พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ประชาชน
5. มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
6. รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
7. จัดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลและการบริการสาธารณะ จัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน
8. ปรับปรุงการบริหารงานเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
9. จัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่อบริการประชาชนให้สะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. ส่งเสริมให้มีการบริการข้อมูลข่าวสารด้านอินเตอร์เน็ตให้กับพนักงาน ประชาชนเพื่อทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน